อุปกรณ์ดำน้ำ มือใหม่ มีอะไรบ้าง ที่ซื้อ

สำหรับนักดำน้ำ อุปกรณ์ดำน้ำ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะว่าการอยู่ใต้น้ำชีวิตเราแทบจะฝากไว้กับอุปกรณ์เลยก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ การเคลื่อนไหว การลอยตัว ความปลอดภัยต่างๆ นั้นเราต้องพึ่งพาอุปกรณ์ดำน้ำ ทุกอย่าง แต่เราจะเลือกซื้ออุปกรณ์ดำน้ำอย่างไรให้เหมาะกับเราดีละ เพราะในตลาดก็มีอุปกรณ์ดำน้ำให้เลือกหลากหลาย ทั้งของราคาถูกมากจนถึงแพงมาก วันนี้ Diver’s Toy จะมาพูดถึงอุปกรณ์ดำน้ำ มือใหม่ ที่แนะนำ สำหรับคนเพิ่งดำน้ำแล้วอยากได้ของดีแต่ยังไม่อยากลงทุนมากกันดีกว่า

Dive Com

สิ่งแรกที่เราแนะนำ อยากให้นักดำน้ำทุกคนทำคือ ซื้อ Dive Computer เพราะว่า Dive Com สามารถบอกค่า NDL หรือ No Decompression Limit ให้เราได้ ทำให้เรารู้ว่าเราอยู่ในความลึกได้นานเท่าไหร่อย่างปลอดภัยระหว่างการดำน้ำ นอกจากนั้นยังสามารถบอกเวลาและความลึกได้ด้วย ซึ่งถ้าไม่มี Dive Computer แล้วอยากเช่า ส่วนใหญ่จะไม่รวมอยู่ในอุปกรณ์ชุดเช่า เราจะต้องจ่ายค่าเช่าแยกอีกส่วนหนึ่งด้วย

ไดฟ์คอมพิวเตอร์ ที่เราแนะนำสำหรับนักดำน้ำมือใหม่ 

  1. Suunto Zoop ราคาเบาๆ แต่ข้อเสียคือหน้าจอใหญ่ ไม่สามารถใส่ในชีวิตประจำวันได้ 
  2. รุ่นต่อไปคือ Suunto D4i เพราะว่าหน้าจอเล็กกว่า Zoop ราคาไม่แรง มีสีสันให้เลือกหลากหลาย ข้อเสียคือไม่ใช่จอสี และต้องเปลี่ยนถ่าน ซึ่งปกติสามารถใช้ได้ประมาณ 1 ปี 
  3. Suunto D5 เป็นจอสี หน้าจอไม่ใหญ่เกินไป ใส่ในชีวิตประจำวันได้ สามารถชาร์จถ่านได้ ข้อเสียคือต้องชาร์จทุกวันหลังจากการดำน้ำ

Dive Com ที่เราแนะนำไปด้านบนเป็น ไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ง่าย เมนูไม่ซับซ้อน สามารถใช้ได้ตั้งแต่นักดำน้ำระดับเริ่มต้น Open Water, Advanced, Rescue และ Nitrox และมีโหมด Freedive ให้เล่นกันด้วย

หน้ากากดำน้ำ

อุปกรณ์ดำน้ำชิ้นที่ 2 ที่แนะนำ คือ หน้ากากดำน้ำ หน้ากากดำน้ำเป็นสิ่งที่นักดำน้ำมือใหม่ถามกันมาเยอะมาก เหมือนกับสิ่งที่ทุกคนคิดว่าเป็นสิ่งที่ควรมีอย่างแรก อาจจะเป็นเพราะหน้ากากที่ใช้เรียนไม่เข้ากับรูปทรงหน้าของเราแล้วทำให้น้ำเข้า ดำน้ำไม่สนุก หรือบางคนอาจจะอยากใส่หน้ากากสวยๆ 

ในมุมมองส่วนตัวของเรานั้น การมีหน้ากากที่เข้ากับหน้า ใส่แล้วชอบ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าใส่หน้ากากที่ไม่ดีแล้วน้ำเข้าหน้ากากตลอดเวลาก็ทำให้ดำน้ำไม่สนุก บางครั้งอาจจะทำให้เกิดอาการแพนิกได้ด้วยซ้ำ

หน้ากากที่เราจะแนะนำ ขอแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือคนโครงหน้าใหญ่หรือมีโหนกแก้ม และกลุ่มที่ 2 คือคนที่มีโครงหน้าเล็ก

  1. สำหรับคนโครงหน้าใหญ่หรือมีโหนกแก้ม อาจจะทำให้น้ำเข้าหน้ากากได้ง่ายถ้าใส่หน้ากากไม่พอดีกับโครงหน้า เราจึงขอแนะนำ XDEEP Radical Framless ที่ออกแบบมาให้รับกับโครงหน้าฝรั่ง มีซิลิโคลนนิ่ม ใส่แล้วเท่มากๆ อีกรุ่นที่แนะนำคือ Scubapro Solo ราคาไม่แรง และเหมาะสำหรับคนโครงหน้าใหญ่เช่นกันย
  2. ส่วนคนโครงหน้าเล็กแบบเอเซีย อย่างเราๆ ขอแนะนำหน้ากากดำน้ำ Gull Vador Fanette ที่มีโครงหน้ากากแคบกว่า ซิลิโคลนนิ่ม มีให้เลือกหลากสี

ส่วนคนที่สายตาไม่ปกติ อาจจะสั้นไป หรือยาวไป เราขอแนะนำหน้ากากแบบเลนส์คู่ หรือ 2 Windows แล้วค่อยซื้อเลนส์สายตาสำเร็จ หรือตัดเลนส์สายตาให้พอดีกับสายตาเราแล้วนำมาแปะที่หน้ากาก เพราะหน้ากากเลนส์คู่จะทำให้ไม่เห็นช่องว่างระหว่างเลนส์ ดูสวยเนียน แต่ถ้าเป็นหน้ากา้าแบบ One Window หรือเลนส์เดียว ถ้าเราเอากระจกเลนส์ 2 ชิ้นมาแปะ อาจจะทำให้มีช่องว่างตรงกลางและไม่สวยมากนัก

Fins ดำน้ำ

Fins หรือ ตีนกบสำหรับดำน้ำ ถือเป็นอุปกรณ์ดำน้ำ มือใหม่ชิ้นสำคัญสำหรับการเคลื่อนที่อย่างเป็นอิสระใต้น้ำ เหมือนกับนักวิ่งที่ต้องมีรองเท้าคู่ใจ ฟินดำน้ำก็เหมือนกัน แต่ละคนอาจจะชอบฟินดำน้ำที่ไม่เหมือนกัน เพราะชอบท่าการตีขาที่ไม่เหมือนกัน หรือชอบน้ำหนักฟินที่ไม่เหมือนกัน

เราขอแนะนำฟินดำน้ำ โดยแบ่งตามท่าการตีขา โดยจะแบ่งออกหลักๆ เป็น 2 ท่าคือ ตีขาขึ้นลงหรือ Flutter Kicks และตีขากบหรือ Frog Kicks ซึ่งทั้ง 2 ท่านี้นักดำน้ำมือใหม่สามารถฝึกได้ทั้ง 2 ท่าเลย

ฟินดำน้ำที่เหมาะกับการตีขา Flutter kicks มีดังนี้

  1. Aqualung Startos แบบ Full Foot หรือ แบบหุ้มส้น เพราะราคาไม่แรง ใบฟินมีน้ำหนักเบา ทำให้ไม่ต้องใช้แรงในการตีขามาก ใบฟินยาวทำให้กินน้ำดี ข้อเสียคือมีสีสันให้เลือกไม่เยอะ 
  2. Gull Mew เป็นฟิน แบบ Full Foot หรือ แบบหุ้มส้น เช่นเคย เป็นฟินที่มีใบฟินทำจากซิลิโคลนนิ่ม น้ำหนักเบา ตีแล้วรู้สึกถึงการโบกสะบัดของใบฟิน ราคาสูงนิดหน่อย แต่มีสีสันให้เลือกเยอะ
  3. Mares Avanti Quattro+ รุ่นนี้มีให้เลือกทั้งแบบ Full Foot หรือ แบบหุ้มส้น และ Open Heel หรือ เปิดส้น เป็นฟินที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่มือใหม่ไปจนถึงระดับโปร และการดำน้ำในถ้ำ เพราะการออกแบบดี โดยใบฟินทำมาจากซิลิโคลนนิ่มๆ โดยมียางแข็งๆ แทรกส่วนกลางคล้ายกระดูก ใบฟินยาวและกว้าง จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการกินน้ำได้ดี น้ำหนักเบา ราคาไม่แรง แต่ข้อเสียคือมีสีให้เลือกน้อยเช่นกัน

ฟินดำน้ำที่เหมาะกับการตีขากบ Forg Kicks การตีขากบสามารถเรียนได้ด้วยต้นเองหรือในคอร์ส Advanced ซึ่งฟินที่เราแนะนำมีดังนี้

  1. Gull Super Mew XX เป็นแบบ Full Foot หรือ แบบหุ้มส้น แต่น้ำหนักไม่แรงมาก วัสดุเดียวกับ Gull Mew แต่ว่ามีขอบใบฟินที่สูงกว่าและแข็งกว่า ทำให้ไม่โบกสะบัดเท่า Mew แต่ว่าสามารถตีขากบได้ดี มีให้เลือกหลากลายสี ราคาไม่เบา
  2. Apeks RK-3 เป็นฟินแบบ Full Foot หรือ แบบหุ้มส้น ทรง Jet Fin มีใบฟินสั้นแต่กว้าง สามารถกินน้ำได้ดี เป็นแบบ Soft Fins ทำให้รู้สึกเบา รูปทรงสวยงาม 
  3. OMS Slipstream เป็นฟินแบบ Full Foot หรือ แบบหุ้มส้น เช่นกัน ทรง Jet Fins คล้ายกับ RK-3 แต่ว่าวัสดุเป็น Medium ก็คือแข็งกว่า ซึ่งทำให้ต้องออกแรงมากกว่านิดหน่อย แต่ประสิทธิภาพในการกินน้ำมากกว่า ทำให้ตีขา 1 ครั้งมีแรงส่งไปไกล มีการออกแบบให้น้ำหนักเป็น Neutral หรือว่าเป็นกลาง ทำให้เวลาเราใส่ฟินตอนน้ำแบบ แล้วฟินไม่ลอย หรือจมจนเกินไปนี้

BCD

BCD หรือ Buoyancy Control Device เป็นอุปกรณ์ดำน้ำ มือใหม่ที่ส่งผลมากต่อการลอยตัวของเรา และเมื่อมีบีซีดีเป็นของตัวเอง เราจะรู้ว่าเราต้องเติมลม หรือปล่อยลมระดับไหน สำหรับนักดำน้ำมือใหม่ที่เช่าบีซีดีมาใช้ อาจจะมีปัญหาที่ว่า บีซีดีแต่ละรุ่นที่เรือให้เราเช่า กดเติมลมแล้วบางรุ่นเติมเยอะ บางรุ่นเติมลมน้อย ถ้ามี BCD เป็นของตัวเองจะทำให้เราชินกับอุปกรณ์ดำน้ำของเรา แล้วสามารถควบคุมการลอยตัวของเราได้ดีมากขึ้น เมื่อเราควบคุมการลอยตัวของเราได้ดีมากขึ้น เราก็สามารถดำน้ำได้มั่นใจขึ้น สนุกกับการดำน้ำมากขึ้น 

BCD ในการดำน้ำสันทนาการหลักๆ 2 ประเภทหลัก คือ BCD Jacket และ BCD Wing หรือบีซีดีโดนัท โดยทั้ง 2 แบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน

BCD Jacket หรือแบบที่ส่วนใหญ่เราใช้ในการเรียนดำน้ำ ข้อดีคือมีช่องกระเป๋าเก็บของ สามารถใส่ SMB หรือ ไฟฉายดำน้ำได้ระหว่างการดำน้ำ บีซีดีแจ็กเก็ต จะให้ความรู้สึกเหมือนเราใส่เสื้อแจ็กเก็ต ข้อดีก็คือ เมื่อเราอยู่บนผิวน้ำ อากาศในถุงลมจะรวมตัวกันอยู่ช่วงหัวไหล่ ซึ่งทำให้เราสามารถตั้งตัวบนผิวน้ำได้ดี ตัวเราจะตั้งตรง ไม่หน้าคว่ำ หรือหลังไม่แหงนจนเกินไป แต่ข้อเสียก็คือเมื่อเราดำน้ำอยู่ใต้น้ำ อากาศก็มีโอากศที่จะไปกองอยู่ด้านบนหัวไหล่เช่นกัน แล้วทำให้การดำน้ำของเราไม่ Steamline ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนเลย

BCD Jacket ที่แนะนำสำหรับนักดำน้ำมือใหม่

Aqualung รุ่น Equator เน้นความเบาและกะทัดรัดเหมาะสำหรับการดำน้ำทั้งในประเทศ หรือการเดินทางไปดำน้ำต่างประเทศ เหมาะกับนักดำน้ำที่ชอบเดินและต้องการมี BCD เป็นของตัวเองด้วย

BCD Wing หรือ บีซีดีโดนัท ข้อดีก็คือไม่รู้สึกอึดอัดช่วงใต้แขน เพราะว่าไม่มีส่วน jacket สามารถขยับแขนได้สะดวก โล่งสบาย และสามารถอยู่ท่า Steamline ในน้ำได้ดี เพราะอากาศในถุงลม BCD จะไปรวมตัวกันช่วงหลัง ทำให้อยู่ใต้น้ำตัวเราจะนอนขนานกับพื้น แต่ข้อเสียก็คือไม่มีกระเป๋าเก็บของ และตั้งตัวบนผิวน้ำยากกว่า BCD Jacket อยู่นิดหน่อย

BCD Wing ที่แนะนำสำหรับนักดำน้ำมือใหม่ บีซีดี XDEEP Zen เพราะว่าได้รับการออกมาเพื่อเน้นประสิทธิภาพหรือ Performance ใต้น้ำ  การถ่ายเทน้ำหนักดี ทำให้เราสามารถอยู่นิ่งใต้น้ำ ให้รู้สึกของการเป็น “หนึ่งเดียว” กับโลกของการดำน้ำ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีวัสดุและวิศวะกรรมสมัยใหม่ถูกนำมาใช้ในการออกแบบ เพื่อส่งมอบระบบการดำน้ำตามสิ่งที่เราให้ความสำคัญ ราคาไม่แรง คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้มา ข้อเสียคือมีแค่สีเดียวให้เลือก

Regulator อุปกรณ์ดำน้ำ

เรกูเลเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำน้ำมากที่สุด เพราะว่าเราต้องหายใจจากมัน ดังนั้นเราจึงเลือกเรกูเลเตอร์ให้ดี โดยมาจากแหล่งหรือยี่ห้อที่เชื่อถือได้ Regulator ที่เราจะแนะนำคือ เรกูเลเตอร์แบบหัวโยก หรือ Yake Valve เพราะว่า ถ้าเป็นการดำน้ำในไทย หรือประเทศใกล้เคียงส่วนใหญ่แล้วเราจะให้ถังแบบโยก ซึ่งถ้าซื้อ Regulator แบบหัวดิน หรือ Din Valve มาก็จะทำให้เราต้องซื้อ Adaptor Din-Yoke เพิ่ม

เรกูเลเตอร์ดำน้ำที่เราแนะนำสำหรับมือใหม่ก็คือ 

  1. Aqualung Titan เป็นรุ่นที่3 ของอควอลัง ไททัน เรกูเลเตอร์ ที่นำนวัตกรรมใหม่มาใช้ขณะที่ยังคงไว้ซึ่งความคุ้มค่า การเพิ่มประสิทธิภาพใหม่ให้ความรู้สึกเบาในการหายใจ หายใจได้ง่ายและทนทานในการใช้งาน พร้อมด้วยการปรับรูปแบบใหม่ให้สวยงามยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้เพื่อประสิทธิภาพที่สุดยอดและการดูแลรักษาที่ง่ายในราคาที่ไม่แพง
  2. Apeks XTX50 เหมาะกับนักดำน้ำที่อยากได้ Regulator ที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ราคาไม่แพง Apeks XTX50 มีข้อเด่นอยู่ที่มีพอร์ท 4 พอร์ทที่เป็นตัวปรับแรงดันให้เป็นกลาง และสามารถหมุนได้ ซึ่งทำให้สายอากาศไม่มีการหักงอ สามารถใช้เรกูเลเตอร์ตัวนี้ได้ตั้งแต่ระดับมือใหม่ไปจนถึงระดับมือโปร เพราะสามารถเอามาดัดแปลงให้กลายเป็น Regulator สาย Technical Dive ได้เลย

Wetsuit

เวทสูท เป็นอุปกรณ์ดำน้ำที่ใช้ป้องกันการสูญเสียความอบอุ่นในร่างกายและป้องกันการขีดข่วนจากสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เช่นพื้นทรายหรือกันแตน นอกจากนั้นยังช่วยกันผิวดำสำหรับคนไม่อยากดำได้อีกด้วย ปกติถ้าดำน้ำในประเทศไทยหรือประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย ฟิลิปินส์ และ อินโดเนเซีย อุณหภูมิน้ำประมาณ 28-30 องศา ซึ่งไม่หนาวเกินไป เพราะฉะนั้นการใส่เว็ทสูท 3 มม. ก็เพียงพอ ส่วนสำหรับคนที่ขี้ร้อน ไม่ชอบใส่ Wetsuit หนา ก็สามารถใส่ Rashguard และกางเกงขายาวว่ายน้ำก็ได้

Wetsuit ที่เราแนะนำสำหรับนักดำน้ำมือใหม่ มีดังนี้

  1. Deepblue Steamer Unisex 3mm เป็นเว็ทสูทเต็มตัว หนา 3 มม. Unisex ใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ใช้ผ้านีโอพรีนทั้งตัว ข้อดีคือ ราคาถูกมาก ข้อเสียคือดีไซน์ธรรมดา ไม่โดดเด่น ตัดเย็บเนื้อผ้านีโอพรีนได้ธรรมดา ระยะการใช้งานประมาณ 1-2 ปี
  2. Wetsuit Sharkskin Chillproof Titanium เป็นผ้าที่ให้ความอุ่นที่สูงสุด ทำมาจากผ้าเทคโนโลยีที่คิดค้นโดย Shark Skin นั่นคือ Titanium Far Infraredที่ผลิตเพื่อป้องกันความอบอุ่นให้ร่างกาย และ เพื่อทำให้เลือดไหลเวียนให้ดีขึ้นใต้น้ำผ้าไทเทเนียม เป็นผ้ากันลม น้ำหนักเบา และการลอยน้ำเป็นกลาง และให้ความอบอุ่นเทียบเท่ากับผ้าเวทสูท หรือผ้านีโอพลีน 5 มม. นอกจากนั้นยังเป็นเว็ทสูท 2 ชิ้น มีแยกเสื้อกกับกางเกง ใส่สะดวก แต่ข้อเสียคือราคาสูงนิดหน่อย

ทั้งหมดนี้คืออุปกรณ์ที่เราแนะนำสำหรับนักดำน้ำมือใหม่ ส่วนนักดำนำ้ที่มีประสบการณ์ อุปกรณ์ด้านบนก็เป็นอุปกรณ์ชั้นดีเหมือนกัน นักดำน้ำท่านไหนสงสัยอะไรเพิ่มเติมสามารถถามพวกเราได้เลย 

Facebook : http://m.me/diverstoy

Line@ : https://lin.ee/UWkyu2M